การนำเสนอและการบริโภคข้อมูลข่าวสารของชาวอาหรับ

ปัจจุบัน เป็นยุคโลกาภิวัตน์ ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและสื่อสารมวลชนก้าวหน้าไปอย่างก้าวกระโดดจน ถูกเรียกว่า The Age of Information ศักยภาพและความนิยมในของสื่อประเภทต่างๆ เพิ่มมากขึ้นหลายเท่าตัว ทำให้สื่อมวลชนมีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่ข่าวสารหรือความรู้สู่ประชาชนได้ อย่างมีประสิทธิภาพได้ทุกชนชั้นและทุกระดับ ช่วงสงครามอัฟกานิสถาน (พ.ศ.2544-2546) และสงครามอิรัก (พ.ศ.2546-2550) สำนักข่าวทีวีอัลญะซีเราะฮ์ ได้นำเสนอข้อมูลข่าวผ่านดาวเทียม ไนล์แซต อาหรับแซต และฮอตเบิร์ด อย่างอย่างเจาะลึกและให้ความเป็นธรรม จนโลกตะวันตกจ้องจับตาดูความเคลื่อนไหว แม้สังคมไทยทั่วไปจะมองว่าไม่ใช่สิ่งใหม่แต่ประการใด แต่ทีวีมุสลิมคือปรากฏการณ์ใหม่สำหรับสังคมมุสลิมไทย และอาจจะเป็นตัวอย่างและแนวทางทีดีสำหรับมุสลิมที่อาศัยในที่ไม่ใช่ประเทศอิสลาม เช่น กัมพูชา ลาว เวีดนาม และในประเทศอื่นๆที่กระจายอยู่ทั่วโลก ที่จะให้ความสำคัญต่อบทบาทของสื่อต่อวิถีชีวิตมุสลิม

ผังรายการที่พบส่วนใหญ่จะเน้นให้เข้าถึงทุกคนในสังคม โดยไม่จำกัดเพศ วัย ศาสนา และอาชีพ ได้แก่ รายการตักเตือน รายการเชิญผู้รู้มาตอบคำถามจากทางบ้าน รายการบรรยายศาสนาตามหัวข้อและประเด็น รายการข่าวและวิเคราะห์สถานการณ์ทั้งในและต่างประเทศ รายการเด็ก เยาวชน รวมถึงรายการสำหรับสตรีและครอบครัว บางช่องทีวีจะมีรายการละครสร้างสรรค์และสะท้องสังคมที่อยู่ในกรอบของศาสนา หรือรายการข่าวสารที่มีสาระอย่างถูกต้องและทันเหตุการณ์ โดยเฉพาะข่าวสารจากอาเซียน โลกอาหรับ และตะวันออกกลาง ซึ่งสื่อตะวันตกขาดความรอบคอบ และเสนอข่าวไม่ครอบคลุมเนื้อหาตามความเป็นจริง

การให้ข้อมูลข่าวสารของทีวีทั่วไปหรือสื่อ (Information) คือ การแจ้งข้อมูลข่าวสารอย่างตรงไปตรงมาโดยปราศจากอคติของสื่อมวลชน เช่น รายการข่าวหรือให้ข้อมูลเกี่ยวกับสังคมและโลก หรือชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์เชิงอำนาจต่างๆ อธิบายเชิงลึกและเชิงกว้างให้เข้าใจข่าวสารเรื่องนั้นได้อย่าง ชัดเจนและรอบด้าน หรือส่งเสริมความคิดใหม่ๆ เช่น แนวทางในการปรับตัวที่ถูกต้อง หรือนำไปสู่ความเจริญทางสังคม ส่งเสริมด้านจริยธรรมและศีลธรรม

นอกจากนั้นสื่อยังทำหน้าที่ประสานสัมพันธ์ หรือเรียกกันว่า Correlation ซึ่งทำหน้าที่ประสานสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงาน องค์กร และสถาบันต่างๆ ในสังคม รวมไปถึงประสานสัมพันธ์และความสามัคคี แต่สิ่งที่ขาดไม่ได้คือ สื่อมวลชนเป็นเสมือนผู้เฝ้าระวังและตรวจสอบความเป็นไปของสังคมในด้านต่างๆ เช่น ความเชื่อ สังคม การศึกษา เศรษฐกิจ และการเมือง กล่าวคือควรสอดส่อง ติดตาม เก็บรวบรวมข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่อาจมีผลกระทบต่อสมาชิกในสังคม และรายงานให้สมาชิกในสังคมได้ทราบ หรือเรียกกันว่า To Inform

สื่อโทรทัศน์นับได้ว่าเป็นสื่อที่เข้าถึงได้ง่ายและมีอิทธิพลมากที่สุดต่อความ คิด โดยเฉลี่ยแล้วคนไทยจะดูโทรทัศน์มากกว่าวันละ 3-4 ชั่วโมง หากรายการโทรทัศน์ที่ผลิตออกมามีประโยชน์ มีสาระน่ารู้ และน่าสนใจ จะสามารถยกระดับความคิด ความรู้ของผู้ชมได้ ในขณะเดียวกันหากบางช่องเสนอรายการที่มุ่งหาจำนวนผู้ชมให้มากเข้าไว้ (เรตติ้งดี) โดยไม่ได้คำนึงถึงผลเสียทางด้านจริยธรรมและศีลธรรมที่จะตามมา ก็สามารถทำให้ผู้ชมเข้าใจผิดและหลงผิดได้

ความไม่เป็นกลางในการนำเสนอตามฐานะของสื่อที่ดี รวมทั้งการเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอย่างเห็นได้ชัดโดยขาดความรับผิดชอบ อาจจะทำสถานีได้รับการต่อว่าจากสังคมและไม่ได้รับการสนับสนุน เพราะสื่อขาดความรับผิดชอบในการนำเสนอข่าวสารต่อสาธารณชน

ยิ่งเป็นทีวีมุสลิม ยิ่งควรดำเนินงานด้วยความยุติธรรมและรายการดังกล่าวอย่างปราศจากชิริก บิดอะฮฺ และฮะรอม รวมทั้งส่งเสริมคนทำความดีและมีความยำเกรงต่อพระผู้เป็นเจ้า แต่ไม่สนับสนุนคนทำสิ่งที่ผิดหรือสร้างศัตรูระหว่างกัน การเขียนข่าวการ รายงานข่าว นอกจากจะต้องคำนึงถึงความถูกต้องแม่นยำ ความรอบด้านของข้อมูลแล้ว ยังต้องระมัดระวังด้านการใช้ภาษาด้วยสุภาพ ประโยคต้องไม่กำกวม กระชับ สื่อสารด้วยความชัดเจน

สำหรับผู้ชมและผู้บริโภคข้อมูลข่าวสาร ที่เสนอโดยสื่อทั่วๆไป ทั้งมุสลิมและไม่มุสลิมมากกว่าหนึ่งช่องถือเป็นสิ่งที่ดี ขณะอีกมุมหนึ่งอาจจะมีสิ่งที่ไร้สาระ ขัดหลักจริยธรรมอิสลาม และแม้รายการต่างๆจะมีประโยชน์ แต่บางครั้งบางรายการอาจจะมีโทษ คุกคามครอบครัว และนำไปสู่หนทางที่หลงผิด ดังนั้นการบริโภคข้อมูลข่าวสารจึงควรเป็นไปอย่างมีสติใคร่ครวญ รอบคอบ และใช้วิจารณญาณในการรับชมและรับฟัง