Category Archives: เทคโนโลยี

อาหรับกับมุสลิมแตกต่างกันอย่างไร

มุสลิมกับอาหรับ มักถูกเข้าใจว่ามีความหมายเหมือนกัน หรือใช้แทนกันได้ความเข้าใจเช่นนี้มีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการที่ตะวันออกกลาง ซึ่งเป็นภูมิภาคที่ร่ำรวยไปด้วยน้ำมัน เป็นพื้นที่ที่มีสถานศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนามากมายและเป็นดินแดนต้นกำเนิดของอิสลาม ด้วยปัจจัยเหล่านี้ทำให้เกิดความเข้าใจผิดคิดว่าอาหรับก็คือมุสลิมทั้งหมด ในความเป็นจริงแล้ว ประชากรมุสลิมในโลกนั้นมีอยู่ประมาณร้อยละ 23 ของจำนวนประชากรโลกทั้งหมด  ชาวอาหรับเองก็ไม่ได้เป็นประชากรส่วนใหญ่ของโลกมุสลิม แต่มุสลิมส่วนใหญ่นั้นอาศัยอยู่นอกตะวันออกกลาง โดยเฉพาะในภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก ซึ่งประเทศที่มีมุสลิมมากที่สุดในโลก คือ 1.อินโดนีเซีย 2.ปากีสถาน 3.อินเดีย 4. บังกลาเทศ 5.อิหร่าน ทั้ง 5 ประเทศมีมุสลิมรวมกันคิดเป็นร้อยละ 85 ของมุสลิมในเอเชียทั้งหมด ซึ่งประเทศเหล่านี้ไม่มีประเทศไหนเลยที่ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวอาหรับ ในแง่ของชาติพันธุ์นั้นชาวอาหรับคือพวกเซไมต์ที่มีเชื้อสายเดียวกับชาวยิวแตกต่างทางชาติพันธุ์กับประชากรมุสลิมส่วนใหญ่ ในเวลาต่อมา ชาวอาหรับก็ได้เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดวิทยาการต่างๆ ไปสู่ยุโรป เป็นผลให้ตะวันตกตื่นขึ้นจากการหลับใหล จนนำไปสู่การฟื้นฟูศิลปะวิทยาการของโลกสมัยใหม่ ที่มีส่วนส่งเสริมความก้าวหน้าเจริญรุ่งเรืองได้เท่าเทียมกับชาวอาหรับและชนชาติที่พูดภาษาอาหรับได้ แม้ชาวมุสลิมส่วนใหญ่จะชื่นชมชาวอาหรับในแง่ดังกล่าว แต่ชาวอาหรับก็ไม่ใช่ตัวแทนของอิสลามและไม่ได้เป็นตัวแทนของชาวมุสลิมทั้งหมด อาหรับหลายประเทศปกครองโดยเผด็จการที่อ้างอิสลามเพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองของตน นอกจากนี้สังคมอาหรับยังเห็นประเพณีป่าเถื่อนที่ได้รับอิทธิพลถ่ายทอดมาจากขนบธรรมเนียมแบบชนเผ่าและสังคมที่ผู้ชายเป็นใหญ่ ที่ขัดแย้งกับหลักคำสอนของอิสลาม สำหรับการแต่งกายของมุสลิมโดยทั่วไปนั้นขึ้นอยู่กับประเพณีนิยมของชนชาติและเผ่าพันธุ์ของตน เราจึงเห็นการแต่งกายของมุสลิมอินโดนิเซียซึ่งนิยมสวมเสื้อกางเกง และหมวกสีดำแตกต่างจากมุสลิมซูดาน ซึ่งนิยมสวมชุดโต๊บสีขาว และพันผ้าโพกศีรษะใหญ่ และแตกต่างจากมุสลิมซาอุดิอาระเบียและอาหรับ บางประเทศที่นิยมใช้ผ้าขาวหรือลายแดงคลุมศีรษะและเอาเชือกลักษณะวงกลมสีดำทับไว้ เช่นเดียวกับการแต่งกายของมุสลิมะห์ชาวมาเลเซียจะแตกต่างจาการแต่งกายของมุสลีมะฮฺชาวปากีสถานและอิหร่าน

 

สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เป็นประเทศที่ร่ำรวยด้วยน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ

ID_26_header1
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เป็นประเทศที่ร่ำรวยด้วยทรัพยากรพลังงาน เป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูงที่สุดในภูมิภาค และอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีความก้าวหน้าในการพัฒนาเศรษฐกิจมากที่สุดของโลก สภาพที่ตั้งอยู่ระหว่างภูมิภาคเอเชีย ยุโรป และแอฟริกาจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โดยเฉพาะรัฐดูไบเป็นศูนย์กลางการค้าในตะวันออกกลางและเป็นแหล่งขนถ่ายและส่งต่อสินค้าไปยังประเทศอื่นๆในภูมิภาค เช่น อิหร่าน รวมทั้งส่งออกไปยังตลาดนอกภูมิภาค ได้แก่ แอฟริกา เอเชียกลาง และยุโรป ปัจจุบันมีท่าเรือ 9 แห่ง (รัฐละ 1 แห่ง) ยกเว้นรัฐดูไบและรัฐอาบูดาบีมีรัฐละ 2 แห่ง ท่าเรือทั้งหมดรองรับสินค้าประมาณ 30 ล้านตันต่อปี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ประกอบไปด้วย 7 รัฐซึ่งเป็นอิสระต่อกัน ซึ่งแต่ละรัฐมีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ดังนั้นนักท่องเที่ยวสามารถพบกับความหลากหลายตั้งแต่วิถีชีวิตและวัฒนธรรมที่เคร่งครัด ไปจนถึงความทันสมัย ประดุจคุณอยู่กลางทะเลทรายโบราณและเบเวอรี่ฮิลล์ในเวลาเดียวกัน

ถือเป็นเมืองท่าและเขตปลอดภาษีที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของโลก นักท่องเที่ยวสามารถเลือกจับจ่ายสินค้าที่มีให้เลือกได้อย่างหลากหลายในราคาที่สมเหตุสมผล ทั้งยังสามารถเลือกซื้อพรมและทองคำได้ในราคาที่ถูกเหลือเชื่อ ท่ามกลางดินแดนทะเลทรายแห่งนี้นักท่องเที่ยวสามารถเลือกชมสินค้าแฟชั่นชั้นนำ สินค้าอิเล็กทรอนิคส์ ไปจนถึงผ้าพัชมีนาและพรมเปอร์เซีย ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องมีสินค้าชิ้นหรือสองชิ้นติดมือกลับไปอย่างแน่นอน ภัตตาคารต่างๆนำเสนออาหารทุกประเภทจากทุกมุมโลก มีอาหารให้เลือกมากมายให้บริการประเภทบุฟเฟ่ต์ ขนมอบสไตล์เลบาเนสแสนอร่อย โรงแรมหรูพร้อมบริการชั้นยอด และแสงแดดเจิดจ้าของดวงอาทิตย์ตลอด 365 วัน

เป็นประเทศที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงสุดในภูมิภาค รายได้หลักของประเทศมาจากน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ขณะเดียวกันก็สามารถเพิ่มรายได้จากทางอื่น เช่น การท่องเที่ยว การอุตสาหกรรม การก่อสร้าง การเงินและการธนาคาร รวมทั้งการส่งเสริมเขตการค้าและอุตสาหกรรมเสรีในรัฐต่างๆ เป็นดินแดนอาหรับที่มีความโดดเด่นทางวัฒนธรรมเป็นอย่างมาก ด้วยความเคร่งครัดและความงดงามแบบชาวมุสลิม ผสมผสานกับความทันสมัยในเมืองใหญ่อย่างดูไบและอาบูดาบี ซึ่งเต็มไปด้วยความหรูหราขั้นสูงสุดที่พร้อมบริการแก่ผู้มาเยือน

วิธีการนัดพบเพื่อคุยการค้ากับชาวอาหรับ

การนัดพบชาวอาหรับแบบส่วนตัวเป็นเรื่องสำคัญอย่างมากในเชิงธุรกิจ เพราะจะทำให้เกิดการยอมรับซึ่งกันและกันได้อย่างรวดเร็ว สำหรับอาหรับแล้วบุคคลที่เขารู้จักทุกคนสามารถกลายเป็นเพื่อนได้เสมอ ดังนั้นการสื่อสารกับชาวอาหรับต้องใช้ถ้อยคำที่สุภาพ นอกจากการพูดจาสุภาพแล้ว ยังมีวิธีที่สามารถทำให้คุยธุรกิจชาวอาหรับได้อย่างง่ายดาย ดังนี้

1.ต้องแต่งตัวให้สุภาพและเป็นทางการเพื่อเป็นการให้เกียรติกับคู่เจรจาธุรกิจของคุณอยู่เสมอ การใส่สูทและผูกเนคไทก็ยังถือว่าเป็นการแต่งกายที่สุภาพของนักธุรกิจชาวอาหรับ

2.ผู้ชายชาวอาหรับนิยมใส่ชุดประจำชาติสีขาวและมีผ้าคลุมศรีษะที่เรียกว่า Dishdasha และในชุดอย่างนั้นคุณไม่สามารถจะบอกได้ว่าใครมีตำแหน่งอะไร จึงควรปฎิบัติตัวกับทุกคนที่เจรจาธุรกิจกับคุณเสมือนว่าเขาเหล่านั้นเป็นผู้บริหารระดับสูงเท่าเทียมกัน

3.ไม่ควรเป็นฝ่ายเริ่มการเจรจาก่อนพบกันในครั้งแรกอาจจะไม่ได้สนทนากันในเรื่องการค้าเลย หากเป็นเรื่องโดยทั่วไป เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม เจ้าบ้านจะเป็นผู้เริ่มการเจรจาเอง

4.การทักทายกันด้วยการจับมืออาจจะเป็นความสุภาพและเป็นสากลนิยมปฎิบัติ แต่ไม่ใช่ที่อาหรับซึ่งเป็นรัฐมุสลิม ไม่จำเป็นต้องทักทายกันด้วยการจับมือเสมอไป โดยเฉพาะถ้าผู้เจรจาด้วยเป็นผู้หญิงไม่นิยมถูกเนื้อต้องตัวกับสุภาพบุรุษ

5.เมื่อคุณไม่ต้องการให้เติมกาแฟในแก้วของคุณก็เพียงแต่เขย่าแก้วเบาๆเป็นสัญญาณให้เด็กเสริฟทราบ แสดงว่าคุณไม่ต้องการเพิ่ม

6.เมื่อใช้บริการแท็กซี่เพื่อเดินทาง ควรสอบถามเส้นทางที่แน่นอนกับทางโรงแรมก่อนที่จะออกเดินทาง เพราะคนขับแท็กซี่ส่วนใหญ่ไม่ใช่ชาวพื้นเมือง อาจทำให้คุณหลงทางและเสียเวลาได้

7.ชาวอาหรับจะทำงานตั้งแต่วันอาทิตย์ถึงวันพฤหัสบดี  สัปดาห์การทำงานของชาวอาหรับจะแตกต่างจากชาวไทยจึงควรเดินทางให้ถึงในวันเสาร์

8.ในช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคมของทุกปีจะเป็นช่วงที่อากาศร้อนที่สุด ชาวอาหรับส่วนใหญ่จะถือโอกาสเดินทางท่องเที่ยวไปที่ต่างๆ ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยง เพราะอาจทำให้คุณพลาดการเจรจาธุรกิจครั้งสำคัญได้

อาหรับสปริงไม่ได้ตอบโจทย์การมีส่วนร่วมของประชาชน

ต้องยอมรับว่าวิกฤติตะวันออกกลางในการรับรู้ของสังคมไทยในปัจจุบันนี้ค่อนข้างอยู่ในวงจำกัด ส่วนใหญ่เราจะได้ทราบข่าวคราวความเคลื่อนไหวผ่านสื่อมวลชนทั้งไทยและต่างประเทศ ซึ่งเป็นการรายงานแบบหลวมๆ เฉพาะส่วน เฉพาะเหตุการณ์เท่านั้น ทั้งที่วิกฤติตะวันออกกลางส่งผลกระทบไปทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย

ดังนั้นการมองเหตุการณ์ให้รอบด้านจะช่วยให้ไทยกำหนดยุทธศาสตร์ต่อภูมิภาคตะวันออกกลางได้ถูกทิศทาง

ปัญหาตะวันออกกลางต้องวิเคราะห์กันตั้งแต่ช่วงแรกที่เกิดเหตุการณ์ “อาหรับสปริง” ซึ่งส่วนตัวเคยวิเคราะห์ไว้นานแล้วว่าจะกลายเป็น “อาหรับวินเทอร์” (Arab Winter : ความรุนแรงผันผวนทางการเมืองในโลกอาหรับ) ยกเว้นประเทศเดียว คือ ตูนิเซีย ซึ่งเป็นต้นกำเนิดอาหรับสปริงแล้วจบลงด้วยความสวยสดงดงาม แต่ตูนิเซียแตกต่างจากอาหรับประเทศอื่นทั้งการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวิธีคิดของคน

หากมองดีๆ จะเห็นว่าสาเหตุที่อาหรับสปริงตั้งแต่ปี ค.ศ.2011 ไม่มีทางประสบความสำเร็จอย่างแท้จริงในหลายๆ ประเทศ เพราะไม่ได้ตอบโจทย์ 3 ข้อ (3 อี) ที่จะนำไปสู่ความยั่งยืน คือ

1.อาหรับสปริงไม่ได้ตอบโจทย์การมีส่วนร่วมของประชาชน (Engagement) 2.ไม่ได้นำไปสู่การศึกษา (Education) และ 3.ไม่ได้นำไปสู่การเปิดโอกาสหรือให้อำนาจแก่ประชาชนอย่างแท้จริง หรือ Empowerment ซึ่งเป็นโจทย์ใหญ่ที่คนนอกตั้งคำถามกับมุสลิมมาตลอด โดยเฉพาะสิทธิสตรี

ทั้งหมดนี้คือสาเหตุที่นำมาซึ่งความล่มสลายของอาหรับสปริงในซีเรีย ลิเบีย แต่ตูนิเซียสามารถแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ จนกระทั่งนำไปสู่การตั้งรัฐบาลร่วมได้ จากการล่มสลายของอาหรับสปริงนี่เองที่นำไปสู่การตอกลิ่มปัญหาในตะวันออกกลาง

ปัญหาความวุ่นวายในตะวันออกกลางช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา หลายคนมองว่ามาจากสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะหลังจากที่ประธานาธิบดี บารัค โอบามา ชนะเลือกตั้ง และต้องการถอนทหารออกจากอิรัก ลดบทบาทการแทรกแซง ซึ่งประเด็นนี้สำคัญมากที่จะต้องพูดกับพี่น้องมุสลิม คือ ประชาคมมุสลิมทั้งโลกก็ว่าได้ที่มองสหรัฐอเมริกาว่าเข้าไปในพื้นที่ตะวันออกกลางเพื่อกอบโกยผลประโยชน์ ซึ่งจริงๆ แล้วทุกชาติมหาอำนาจเข้าไปกอบโกยผลประโยชน์ ไม่ได้มีเฉพาะสหรัฐ

ยิวที่เป็นอาหรับที่อยู่ในอิสราเอลปัจจุบันซึ่งน่าจะมีเชื้อสายจากยิวโบราณ

17

หลายคนแปลกใจว่า ทำไมยิวในอิสราเอลปัจจุบันมันจึงได้เหมือนฝรั่งนัก ทำไมไม่เหมือนกับพวกอาหรับ ทั้งที่ตามคำกล่าวอ้างทุกหลักฐานที่แข็งแรงนั้น อิสราเอลหรือยิวและอาหรับนั้นต่างก็เป็นพวกสายเลือดเผ่าพันธุ์ เซไมท์ หรือเซเมติก เหมือนกัน ซึ่งยิวน่าจะมีหน้าตาแบบแขกอาหรับมากกว่ายิวที่เป็นเชื่อสายเดิม 12 เผ่าของอิสราเอล ที่มีเชื่อสายเดียวกับอาหรับนั้น ถึงเวลานี้ ก็ไม่มีใครแน่ใจว่าแต่ละเผ่านั้นไปอยู่ที่ไหนกันบ้างในโลก บางเผ่าก็หายไปก่อนหน้านี้นานแล้ว เช่น เผ่าเบนยามิน เป็นเผ่าของน้องคนสุดท้องของตระกูล ซึ่งไม่ค่อยจะได้มีบทบาทนัก ไม่เหมือนกับ เผ่ายูดาห์(ยิว)ที่มีลูกหลานมากมาย เผ่า เลวี ที่มีหน้าที่สำคัญในพิธีกรรมในศาสนายิว

ส่วนยิวที่เป็นอาหรับที่อยู่ในอิสราเอลปัจจุบันซึ่งน่าจะมีเชื้อสายจากยิวโบราณนั้นอาจจะไม่ได้อพยพไปไหนไกลนัก หรืออาจเคลื่อนย้ายวนเวียนอยู่ในแถบตะวันออกกลางแล้วกลับมาอยู่ปาเลสไตน์ใหม่ แต่ยิวพวกนี้กลายเป็นชนชั้นที่ไม่มีส่วนในนโยบายการปกครองของประเทศอิสราเอลแต่อย่างใด หลายคนก็เคร่งครัดปฏิบัติแต่ศาสนาอยู่ในชุมชนของตนซึ่งศาสนายิวนั้นมีกฎเกณฑ์มากมายในการดำเนินชีวิตทั้งการเป็นอยู่และการกิน เช่นพวกนี้จะไม่ดูทีวี จะต้องสวดมนต์ตามเวลา ไม่กินหมู และไม่กินเนื้อกับนมปนกัน แต่งตัวเหมือนกัน ไว้ผมยาวและไว้จอนยาว ฯลฯ ซึ่งทางการก็ปล่อยไว้โดยไม่ให้เข้ามาเกี่ยวกับการเมืองแต่ก็ให้มีตัวแทนมีที่นั่งในสภา ส่วนยิวที่เคร่งครัดนี้อาจจะมียิวฝรั่ง ที่ศรัทธาความเชื่อแบบยิวโบราณก็อาจเข้ามาอยู่ด้วย หรือทำตัวเหมือนยิวโบราณอย่างเคร่งครัดก็มีบ้าง

เราอาจจะเห็นกลุ่มนี้นานๆออกมาประท้วงรัฐบาลบ้างบางที  เช่น รัฐไม่ยอมหยุดทำงานทุกอย่างในวันสะบาโต(คืนวันศุกร์-เย็นวันเสาร์)ตามที่พระคัมภีร์เดิมสั่งไว้ หรือรัฐทำบางอย่างที่ขัดกับหลักการศาสนา หรือคัดค้านการตั้งรัฐอิสราเอลใหม่ขึ้นมาอีกครั้งบนแผ่นดินปาเลสไตน์ เพราะขัดกับพระคัมภีร์เดิมที่กล่าวไว้ และให้ยอมรับชะตากรรมที่พระเจ้ากำหนด เพราะถ้าเกิดรัฐอิสราเอลใหม่ยิวจะถูกทำลายล้างจนหมดพันธุ์ ตามคำทำนายโบราณ  (ยิวโบราณจะเรียกยิวฝรั่งเหล่านี้ว่า พวก ไซออนิสต์(Zionism)) ยิวพวกนี้ก็จะไม่เชื่อคัมภีร์ตัลมูด และสงสัยความเป็นมาของคัมภีร์นี้ เพราะมิได้เป็นคัมภีร์ที่พระเจ้าประทานให้ชาวอิสราเอล ตามประวัติที่กล่าวไว้ของชาวยิว 12 เผ่า