Category Archives: เทคโนโลยี

ชาวอาหรับกับความก้าวหน้าในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต

เราอาจคุ้นเคยกับเทคโนโลยีทันสมัยจากโลกตะวันตก และองค์ความรู้จากนักวิทยาศาสตร์ของฝรั่งผิวขาว  หรือวิทยาการจากจีนแผ่นดินใหญ่ที่มีมานานนับพันปี  แต่เราอาจไม่เคยรู้ว่าในโลกมุสลิมมีวิทยาการที่ก้าวหน้าและบางอย่างเป็นสิ่งที่เราใช้กันจนชินความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ที่ได้ถูกสร้างขึ้นโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวมุสลิม ในช่วงยุคทองของโลกมุสลิม (ค.ศ. 700-1700) ยังคงมีให้เห็นในโลกปัจจุบัน และหลาย ๆ ความรู้ รวมถึงสิ่งประดิษฐ์ที่เป็นรากฐานให้กับนักวิทยาศาสตร์ชาวตะวันตก ที่แท้จริงแล้วเคยถูกค้นพบมาก่อนโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวมุสลิม

ในยุคปัจจุบันประชากรอาหรับในภาพรวมทั้งหมด ได้เปลี่ยนที่อยู่อาศัยจากฟาร์มและชนบท มาสู่เมืองที่เป็นศูนย์กลางขนาดใหญ่ การโยกย้ายเช่นนี้เกิดขึ้นอย่างมากมายในช่วงเวลาหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2  มีการคาดคะเนกันว่า ในปี 2020 ประชากรร้อยละ 70 ของตะวันออกกลางทั้งหมดจะอาศัยอยู่ในเมือง อย่างไรก็ตาม การย้ายถิ่นฐานเข้ามาอาศัยอยู่ในเมืองก็นำมาซึ่งปัญหามากมาย หากไม่นับประเทศในอ่าวเปอร์เซียซึ่งเป็นประเทศร่ำรวย รัฐบาลอาหรับเกือบทั้งหมดต้องเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนที่อยู่อาศัย บริการสาธารณะที่ไม่เพียงพอ (เช่น เมืองอัมมานในจอร์แดน รัฐสามารถจ่ายน้ำให้ประชาชนได้วันละไม่กี่ชั่วโมง กรุงไคโรต้องเผชิญกับปัญหาการบริการรถขนส่งสาธารณะ แทบจะทุกเมืองต้องประสบกับปัญหาจราจรติดขัด เพราะถนนที่มีอยู่ไม่สามารถรองรับจำนวนรถที่เพิ่มขึ้นอย่างมากมายได้) ตลอดจนต้องแบกภาระการบริการสังคมที่มากเกินจะรับไหว ตั้งแต่เรื่องการศึกษา สุขภาพอนามัย ไปจนถึงการจ้างงาน ในประเทศอาหรับที่ยากจนมีการขยายตัวของที่อยู่อาศัยที่ผิดกฎหมาย หรือไม่ได้รับการรับรองจากรัฐ (โดยเฉพาะเมือง Casablanca, อัลเจียร์ และไคโร) เช่น ร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมดในกรุงไคโรอยู่ในที่อาศัยที่ผิดกฎหมาย บางครั้งวิกฤตการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นก็ก่อให้เกิดปัญหาอื่นตามมา เช่น หลังจากการบุกยึดคูเวตของอิรักทำให้ประชากร 4 ถึง 5 ล้านคนหนีภัยสงครามออกจากภูมิภาคอ่าวเปอร์เซีย เป็นต้น

การเข้าถึงอินเตอร์เน็ตก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่ง ที่สะท้อนภาพของสถานการณ์ในยุคปัจจุบันได้เป็นอย่างดี ประชากรอาหรับในภาพรวมทั้งหมดเฉลี่ยร้อยละ 5 ถึง 10 เท่านั้นที่เข้าถึงอินเตอร์เน็ต ข้อมูลการสำรวจแสดงให้เห็นว่า จำนวนคนใช้อินเตอร์เน็ตต่อ 1,000 คน มีเพียง 200 ถึง 300 คน ในภูมิภาคอ่าวเปอร์เซียที่เข้าถึงมากกว่า 100 คน ในเลบานอน ประมาณ 60 คน ในซาอุดีอาระเบีย 50 คน ในจอร์แดนและตูนีเซีย 30 คน และ 20 คนหรือน้อยกว่านี้ในลิเบีย ซีเรีย อัลจีเรีย อียิปต์ และโมร็อกโก ซึ่งนับเป็นจำนวนที่น้อยมากเมื่อเทียบกับสหรัฐฯ (550) หรือในโลกที่พัฒนาแล้ว (ระหว่าง 400 ถึง 500 คน หรือมากกว่า)

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นแรงผลักดันของอาหรับ

อนุสรณ์ความรุ่งเรืองของโลกอาหรับ ที่มีวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นแรงผลักดัน คือเมือง Isfahan ในอิหร่านตะวันออก และ Alhambra ในสเปนตอนใต้ เมือง Alhambra สร้างหลังเมือง Isfahan เมืองทั้งสองมีความฟุ้งเฟ้อ ตามแบบของวังในนิยายอาหรับเรื่อง “นิทราชาคริต” ซึ่งครั้งหนึ่ง เป็นหนังสือระดับมัธยมศึกษาของประเทศไทย ความฟุ้งเฟ้อที่มากับความสำเร็จ ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงเป็นการขัดกับค่านิยมของชาวมุสลิมอย่างชัดเจน ในที่สุดนักปราชญ์อาหรับ จึงได้มีการวางแผนเลิกวิทยาศาสตร์ ประเทศไทยได้ตั้งสถาบันการสอนวิทยาศาสตร์ เพื่อใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นแรงพัฒนาประเทศไทย และประเทศไทยได้ประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง แต่แผนเลิกวิทยาศาสตร์และโลกอาหรับนั้น ได้ผลค่อนข้างชัดเจนบริบูรณ์ ลูกบุญธรรมคือวิทยาศาสตร์ถูกขับไล่ออกจากบ้าน และหนีตามไปเป็นสะใภ้หรือเขยของโลกตะวันตก แล้วแต่เราจะคิด วิทยาศาสตร์ให้เป็นหญิงหรือชาย ประเทศในกลุ่มโลกตะวันตกที่เข้าสู่ยุค renaissance คือ สเปนและอิตาลี ทั้งนี้หาได้เป็นเรื่องบังเอิญไม่ ด้วยเหตุที่ประเทศทั้งสองอยู่ใกล้ชิดกับวัฒนธรรมอาหรับ ต่อจากนั้นวัฒนธรรมวิทยาศาสตร์ จึงได้แพร่ไปสู่ประเทศยุโรปอื่น ๆ โดยเฉพาะอังกฤษ เยอรมนี รัสเซีย การพัฒนาวิทยาศาสตร์ ประกอบกับการปฏิวัติทางอุตสาหกรรม ทำให้โลกตะวันตกมีอำนาจทางเศรษฐกิจ การเมือง และการทหาร อย่างไม่มีประเทศใด เคยประสบมาก่อน ส่วนประเทศที่ได้

อานิสงฆ์ทางอ้อม คือประเทศทวีปอเมริกา ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น ประเทศกลุ่มโลกตะวันตก ได้อาศัยระบบการเมือง ที่ให้สิทธิเสรีภาพแก่ประชาชน ประกอบกับความเป็นผู้นำด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีใช้เป็นเหตุหรือความชอบธรรม ที่จะเข้าไปจัดระเบียบสังคมให้แก่โลกที่สาม ทำให้ประเทศในโลกที่สามซึ่งรวมทั้งโลกอาหรับด้วย ได้พัฒนา มาเป็นประเทศ อาณานิคมบ้าง กึ่งอาณานิคมบ้าง หรืออาณานิคมแบบแฝง (klepto colony) บ้าง ภาวะเป็นผู้นำ ทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีของประเทศในยุโรป ถึงจุดสูงสุดเมื่อประเทศรัสเซียยิงจรวดส่งดาวเทียม Sputnik ไปโคจรรอบโลกในปี 1954 และสหรัฐอเมริกาได้ตัดสินใจเป็นประเทศผู้นำทางวิทยาศาสตร์ ทำให้สหรัฐเป็นผู้นำทางด้านการทหาร เศรษฐกิจ และการเมืองของโลก และไม่มีทีท่าว่าจะหลุดจากตำแหน่งนี้ไปได้ภายใน 50 – 100 ปีข้างหน้า

ประเทศในโลกที่สามที่เจริญก้าวหน้าไปได้ดี มักจะมีนโยบายวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจน เป็นรูปธรรม และตัวชี้บ่งที่วัดและเปรียบเทียบได้ เช่น จำนวนนักวิทยาศาสตร์ต่อประชากรพันคน งบประมาณวิจัยค้นคว้า วิทยาศาสตร์เป็นเปอร์เซนต์ของผลิตผลรวมมวล ฯลฯ แต่บางประเทศกลับมีนโยบายที่หน่วงเหนี่ยววิทยาศาสตร์ เป็นต้นว่านโยบายที่แบ่งวิทยาศาสตร์ออกเป็นสองประเภท คือประเภทที่มีบทบาทในการพัฒนาประเทศ และประเทศที่ไม่มีบทบาท ในการพัฒนาประเทศ และรวมการพัฒนาวิทยาศาสตร์มูลฐาน เช่น คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี หรือแม้แต่ ชีววิทยา เข้าไว้ในประเภทหลัง

ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีของชาวอาหรับ

สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ หรือที่อาจคุ้นกันในชื่อที่สั้นกว่าว่า UAE (ตัวย่อของชื่อภาษาอังกฤษ United Arab Emirates) เป็นประเทศที่เกิดจากการรวมตัวของรัฐต่าง ๆ 7 รัฐ ตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม 2514 จึงนับว่ามีอายุเพียง 40 ปีเศษ แต่ในเวลาเพียงไม่ถึง 2 ชั่วอายุคนนี้ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้พัฒนาความเจริญก้าวหน้าขึ้นมาอย่างรวดเร็ว โดยส่วนสำคัญมาจากรายได้มหาศาลจากการส่งออกน้ำมันดิบ ควบคู่ไปกับการเป็นศูนย์กลางการค้าในภูมิภาค ยังไม่รวมถึงการเงินและการขนส่งทางอากาศ ซึ่งนับวันจะทวีความสำคัญต่อเศรษฐกิจสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ขึ้นเรื่อย ๆ

สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์มีผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศประมาณ 3.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ มีรายได้ประชาชาติต่อหัว 41,550 ดอลลาร์สหรัฐฯ และมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจอยู่ที่ 3.5% สินค้าส่งออกสำคัญ (หากไม่รวมน้ำมันและก๊าซ ซึ่งเกือบทั้งหมดส่งออกไปยังกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออก เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไทย) คือ อัญมณี ทองคำ และพลาสติก โดยส่งออกไปยัง อินเดีย อิหร่าน และสวิตเซอร์แลนด์ ส่วนสินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ เครื่องจักรกล ยานพาหนะและอะไหล่ และอาหาร โดยมีแหล่งนำเข้าสำคัญคือ อินเดีย สหรัฐอเมริกา และจีน

สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เปิดรับการลงทุนจากต่างชาติ โดยเฉพาะในสาขาที่ไม่ใช่น้ำมันและก๊าซ เพื่อให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ระยะยาวของประเทศที่ต้องการเพิ่มความหลากหลายทางโครงสร้างเศรษฐกิจและลดการพึ่งพาการส่งออกน้ำมัน ซึ่งไม่ยั่งยืนเพราะเป็นทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไป

ในทางตรงกันข้าม การที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ร่ำรวยจากรายได้จากการส่งออกน้ำมัน จึงมีความสนใจที่จะนำเงินทุนสำรองออกไปลงทุนในต่างประเทศเพื่อเพิ่มผลตอบแทน โดยมีกองทุนความมั่งคั่ง (Sovereign Wealth Fund) ต่าง ๆ เป็นกลไกสำคัญในบริหารเงินทุนสำรอง และเลือกประเทศและสาขาการลงทุน กองทุนความมั่งคั่งที่สำคัญของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ได้แก่ Abu Dhabi Investment Authority (ADIA), Mubadala Development Company และ Investment Corporation of Dubai (ICD) เป็นต้น

ส่วนในเรื่องของเทคโรโลยีของอาหรับก้ไม่น้อยหน้าประเทศไหนๆ เพราะเทคโนโลยีของอาหรับนั้นถือว่าก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว มีความก้าวหน้าเป็นอย่างมากในเรื่องของนโยบายและการยอมรับของทางด้านเทคโนโลยี รัฐบาลได้มองเห็นว่าเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นโครงสร้างขั้นพื้นฐานที่ทันสมัยที่จะทำให้ดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศและเกิดการกระจายการลงทุนทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ

รัฐบาลจะใช้ SmartFilter เพื่อเป็นการกรองซอฟต์แวร์ ป้องกันสื่อลามกอนาจาร, การเล่นการพนัน, การชักจูงด้านศาสนา.เกี่ยวกับยาเสพติด, เกี่ยวกับความเชื่อของ Bahai, เว็ปไซต์ทั้งหมดที่มีที่อยู่โอเมนระดับบนสุดของอิสราเอล, เกี่ยวกับประเด็นของเกย์และเลสเบี้ยน, เว็บไซต์ Dating เป็นต้น แต่การจะกรองได้นั้นมีขีดความยากลำบากมากเนื่องจากความกว้างขวางของอินเตอร์เน็ต

จะเห็นได้ว่านอกจากเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้วเรื่องเทคโนโลยีก็ไม่น้อยหน้า เพราะมีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา

การใช้เทคโนโลยีการผลิตเป็นตัวนำในการเปิดประตูสู่การค้ากับประเทศโลกอาหรับ

การค้าระหว่างจีนกับประเทศในโลกอาหรับเพิ่มขึ้นด้วยการใช้เทคโนโลยีการผลิตเป็นตัวนำ บริษัทยักษ์ใหญ่ในจีนหลายบริษัทพัฒนาสินค้าด้วยการผลิตสินค้าระดับไฮ-เทค จีนทำการค้ากับประเทศตะวันออกกลางเพิ่มขึ้น โดยในปี 2012 การค้าระหว่างประเทศมีมูลค่า 222.4 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14 จากปี 2011 ซึ่งมีมูลค่า 195.9 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยจีนนำเข้าจากประเทศอาหรับมูลค่า 131.1 ล้านเหรียญสหรัฐ ในขณะที่ส่งออกมูลค่า 91.3 ล้านเหรียญสหรัฐ ประเทศอาหรับประกอบด้วย 22 ประเทศ มีประชากรรวม 422 ล้านคน การค้าระหว่าง 2 ฝ่ายให้ความสำคัญของการเป็น trading partner มีความชัดเจนในโครงสร้างของอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกและโอกาสทางธุรกิจ

ความร่วมมือทางด้านพลังงาน เครื่องจักรกลระดับเทคโนโลยีขั้นสูง จะเป็นกลไกสำคัญของการนำไปสู่การค้ากับตลาดอาหรับที่เพิ่มขึ้นในอีก 3 ปีข้างหน้า สินค้าสำคัญได้แก่ เครื่องจักรกลสำหรับต่อเรือ เครื่องมือและอุปกรณ์ในโรงงานอุตสาหกรรม เหล็กกล้า เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องใช้ภายในบ้าน เสื้อผ้าสำเร็จรูปและสิ่งทอ และสินค้าจำเป็นใช้ในชีวิตประจำวัน เป็นสินค้าหลักของการค้าระหว่างประเทศ รวมทั้งยานพาหนะสำหรับขนส่งมวลชนของจีนก็เป็นที่นิยมในภูมิภาคประเทศอาหรับ

ทั้งสองฝ่ายยังร่วมกันอย่างจริงจังในการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน(Infrastructure) เช่น พัฒนาด้านสนามบินและการบิน พัฒนาเขตชนบทของเมือง พัฒนาการเกษตร โลจิสติกส์ การเงิน การท่องเที่ยว การพัฒนาและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างกัน เนื่องจากปัจจุบันเศรษฐกิจโลกอยู่ระหว่างขาลง จีนจึงมุ่งส่งออกสินค้าสู่ประเทศในโลกอาหรับด้วยการให้ความสำคัญกับการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตกับการห่วงใยต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเน้นอุตสาหกรรมการพลังงาน

จะเห็นได้ว่าทั้งสองประเทศนั้นจะให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิต และการตลาดเป็นอย่างมาก เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จในของการตลาด และนำมาซึ่งสิ่งต่างๆอีกมากมาย

IBM ช่วยอียิปต์เปิดโลกอารยธรรมของอียิปต์และอาหรับสู่สาธารณชน

เทคโนโลยีอันเหนือชั้นของไอบีเอ็ม ช่วยรัฐบาลอียิปต์จัดทำหอจดหมายเหตุรูปแบบดิจิตอลที่ใหญ่ที่สุดในโลก ครอบคลุมประวัติศาสตร์หลายพันปีของอียิปต์และชนชาติอาหรับ

ดร. อาห์เหม็ด นาซีฟ นายกรัฐมนตรีของประเทศอียิปต์ เปิดตัวโครงการระดับชาติที่จัดทำเอกสารดิจิตอลขนาดใหญ่ที่สุดในโลกให้แก่หอจดหมายเหตุแห่งชาติของอียิปต์ (National Archives of Egypt – NAE) ด้วยการสนับสนุนจากเทคโนโลยีและโซลูชันระดับโลกจากไอบีเอ็ม

โครงการดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายเพื่ออนุรักษ์มรดกอันทรงคุณค่าที่เก็บไว้ในหอจดหมายเหตุแห่งชาติของอียิปต์ และนับเป็นหนึ่งในโครงการจัดทำหอจดหมายเหตุรูปแบบดิจิตอลที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยครอบคลุมเอกสารและบันทึกต่างๆ ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของอารยธรรมอียิปต์โบราณและชนชาติอาหรับกว่า 25 ล้านรายการ รวมถึงเอกสารกว่า 90 ล้านชุด

โครงการนี้เป็นผลมาจากความร่วมมือระหว่างกระทรวงวัฒนธรรม โดยหอสมุดและหอจดหมายเหตุแห่งชาติของอียิปต์เป็นผู้ดำเนินการ และกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยมีศูนย์เอกสารด้านวัฒนธรรมและมรดกแห่งชาติเป็นตัวแทนการดำเนินการ

นอกจากนี้ ไอบีเอ็มยังให้ความช่วยเหลือในการสร้างเว็บไซต์อย่างเป็นทางการสำหรับหอจดหมายเหตุแห่งชาติของอียิปต์ ซึ่งรองรับการเข้าถึงจดหมายเหตุต่างๆ ผ่านทางระบบออนไลน์ โดยจดหมายเหตุเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นภาษาอาหรับ เว็บไซต์ดังกล่าวซึ่งประกอบด้วยเครื่องมือค้นหาหรือเสิร์ชเอนจิ้น (Search Engine) ที่ทรงพลัง ได้รับการออกแบบเป็นพิเศษเพื่อใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการเข้าถึงแหล่งข้อมูลทางการศึกษาสำหรับนักประวัติศาสตร์และนักวิจัยทั่วโลก นอกจากนั้นแล้ว เว็บไซต์ดังกล่าวยังมีข้อมูลมากมายเกี่ยวกับการสัมมนาต่าง ๆ ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติของอียิปต์จัดขึ้นอีกด้วย

นอกจากนี้ โครงการดังกล่าวยังสนับสนุนการเข้าใช้ห้องวิจัยของหอจดหมายเหตุแห่งชาติของอียิปต์ ซึ่งตั้งอยู่ที่กรุงไคโร ในอดีต ห้องวิจัยแห่งนี้ต้องพึ่งพากระบวนการที่ใช้เอกสารในรูปแบบของกระดาษเป็นหลักสำหรับการจัดทำดัชนีและการยืมเอกสารจดหมายเหตุ แต่ห้องวิจัยที่เพิ่งผ่านการปรับปรุงขึ้นใหม่นี้ มีการนำเครื่องคอมพิวเตอร์ 56 เครื่องมาใช้งาน ซึ่งช่วยให้นักวิจัยสามารถเข้าถึงฐานข้อมูลผ่านทางระบบออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพดีและรวดเร็วยิ่งขึ้น นอกจากนั้น ขั้นตอนในการเข้าถึงฐานข้อมูลต่าง ๆ ยังมีการปรับปรุงให้เป็นระบบอัตโนมัติมากขึ้น เปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่ของหอจดหมายเหตุแห่งชาติสามารถค้นหาเอกสารและแฟ้มต่างๆ ได้ง่ายขึ้นด้วยเวลาไม่ถึง 10 นาที แทนที่ต้องใช้เวลาหนึ่งวันเต็มๆ กับกิจกรรมดังกล่าว เช่นในอดีต

ในส่วนของการทำงานในโครงการดังกล่าว ไอบีเอ็มต้องเผชิญกับความท้าทายต่าง ๆ มากมาย เช่น:

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแปลงเอกสารเก่าแก่โบราณและมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ให้เป็นรูปแบบดิจิตอล รวมทั้งการจัดทำดัชนีสำหรับแฟ้มเอกสารต่างๆ นอกจากนั้นแล้ว เจ้าหน้าที่ของหอจดหมายเหตุฯ ต้องผ่านการฝึกอบรมในด้านการดึงคำอธิบายข้อมูลหรือเมตาดาต้า (Metadata) สำคัญๆ จากเอกสาร เช่น ชื่อเรื่อง หัวข้อ คำหลัก ผู้เขียน และวันที่ เป็นต้น โดยข้อมูลดังกล่าวจะถูกบันทึกไว้โดยใช้เทคโนโลยีเสียงดิจิตอล ก่อนที่จะถูกแปลงเป็นข้อความเพื่อเพิ่มความสะดวกในการจัดทำดัชนีและการค้นหาทางระบบออนไลน์

การสร้างห้องปฏิบัติการสำหรับการสแกนเอกสารดิจิตอลภายในหอจดหมายเหตุฯ ซึ่งได้รับการออกแบบเป็นพิเศษเพื่อให้สามารถสแกนเอกสารที่มีความละเอียดสูง 10 ล้านชุดให้เสร็จภายในระยะเวลา 5 ปี โดยใช้แอพพลิเคชั่นและเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นเป็นพิเศษโดยไอบีเอ็มเพื่อโครงการนี้โดยเฉพาะ

การรักษาความปลอดภัยและความสมบูรณ์ของเอกสารทางประวัติศาสตร์ เพื่อป้องกันการคัดลอกและบิดเบือน ด้วยการใช้เทคโนโลยีลายน้ำแบบดิจิตอล (digital watermark technology)