ชาวอาหรับกับความก้าวหน้าในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต

เราอาจคุ้นเคยกับเทคโนโลยีทันสมัยจากโลกตะวันตก และองค์ความรู้จากนักวิทยาศาสตร์ของฝรั่งผิวขาว  หรือวิทยาการจากจีนแผ่นดินใหญ่ที่มีมานานนับพันปี  แต่เราอาจไม่เคยรู้ว่าในโลกมุสลิมมีวิทยาการที่ก้าวหน้าและบางอย่างเป็นสิ่งที่เราใช้กันจนชินความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ที่ได้ถูกสร้างขึ้นโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวมุสลิม ในช่วงยุคทองของโลกมุสลิม (ค.ศ. 700-1700) ยังคงมีให้เห็นในโลกปัจจุบัน และหลาย ๆ ความรู้ รวมถึงสิ่งประดิษฐ์ที่เป็นรากฐานให้กับนักวิทยาศาสตร์ชาวตะวันตก ที่แท้จริงแล้วเคยถูกค้นพบมาก่อนโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวมุสลิม

ในยุคปัจจุบันประชากรอาหรับในภาพรวมทั้งหมด ได้เปลี่ยนที่อยู่อาศัยจากฟาร์มและชนบท มาสู่เมืองที่เป็นศูนย์กลางขนาดใหญ่ การโยกย้ายเช่นนี้เกิดขึ้นอย่างมากมายในช่วงเวลาหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2  มีการคาดคะเนกันว่า ในปี 2020 ประชากรร้อยละ 70 ของตะวันออกกลางทั้งหมดจะอาศัยอยู่ในเมือง อย่างไรก็ตาม การย้ายถิ่นฐานเข้ามาอาศัยอยู่ในเมืองก็นำมาซึ่งปัญหามากมาย หากไม่นับประเทศในอ่าวเปอร์เซียซึ่งเป็นประเทศร่ำรวย รัฐบาลอาหรับเกือบทั้งหมดต้องเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนที่อยู่อาศัย บริการสาธารณะที่ไม่เพียงพอ (เช่น เมืองอัมมานในจอร์แดน รัฐสามารถจ่ายน้ำให้ประชาชนได้วันละไม่กี่ชั่วโมง กรุงไคโรต้องเผชิญกับปัญหาการบริการรถขนส่งสาธารณะ แทบจะทุกเมืองต้องประสบกับปัญหาจราจรติดขัด เพราะถนนที่มีอยู่ไม่สามารถรองรับจำนวนรถที่เพิ่มขึ้นอย่างมากมายได้) ตลอดจนต้องแบกภาระการบริการสังคมที่มากเกินจะรับไหว ตั้งแต่เรื่องการศึกษา สุขภาพอนามัย ไปจนถึงการจ้างงาน ในประเทศอาหรับที่ยากจนมีการขยายตัวของที่อยู่อาศัยที่ผิดกฎหมาย หรือไม่ได้รับการรับรองจากรัฐ (โดยเฉพาะเมือง Casablanca, อัลเจียร์ และไคโร) เช่น ร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมดในกรุงไคโรอยู่ในที่อาศัยที่ผิดกฎหมาย บางครั้งวิกฤตการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นก็ก่อให้เกิดปัญหาอื่นตามมา เช่น หลังจากการบุกยึดคูเวตของอิรักทำให้ประชากร 4 ถึง 5 ล้านคนหนีภัยสงครามออกจากภูมิภาคอ่าวเปอร์เซีย เป็นต้น

การเข้าถึงอินเตอร์เน็ตก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่ง ที่สะท้อนภาพของสถานการณ์ในยุคปัจจุบันได้เป็นอย่างดี ประชากรอาหรับในภาพรวมทั้งหมดเฉลี่ยร้อยละ 5 ถึง 10 เท่านั้นที่เข้าถึงอินเตอร์เน็ต ข้อมูลการสำรวจแสดงให้เห็นว่า จำนวนคนใช้อินเตอร์เน็ตต่อ 1,000 คน มีเพียง 200 ถึง 300 คน ในภูมิภาคอ่าวเปอร์เซียที่เข้าถึงมากกว่า 100 คน ในเลบานอน ประมาณ 60 คน ในซาอุดีอาระเบีย 50 คน ในจอร์แดนและตูนีเซีย 30 คน และ 20 คนหรือน้อยกว่านี้ในลิเบีย ซีเรีย อัลจีเรีย อียิปต์ และโมร็อกโก ซึ่งนับเป็นจำนวนที่น้อยมากเมื่อเทียบกับสหรัฐฯ (550) หรือในโลกที่พัฒนาแล้ว (ระหว่าง 400 ถึง 500 คน หรือมากกว่า)